7/16/2554

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับคุณภาพชีวิตสมรสของสามีภรรยาที่ทำงานทั้งคู่

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับคุณภาพชีวิตสมรสของสามีภรรยาที่ทำงานทั้งคู่
โดย Kristin M.Perrone แห่ง Ball State University
และ Everett L. Worthington , Jr. แห่ง Virginia Commonwealth University

ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอและทดสอบโมเดลของคุณภาพชีวิตสมรสในกลุ่มตัวอย่างชาย
52 คน หญิง 55 คน ซึ่งทำงานทั้งสามีภรรยา
โมเดลดังกล่าวถูกสร้างขึ้นภายในกรอบของบทบาททางสังคม
ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยต่างๆที่มีผลทั้งทางบวกและลบต่อคุณภาพชีวิตสมรส
จากการวิเคราะห์ เราพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตสมรสได้แก่ ความรัก
ความพึงพอใจด้านเพศสัมพันธ์ การสื่อสาร และความพึงพอใจใน lifestyle
ของการที่ทั้งสามีและภรรยาทำงานทั้งคู่
การที่ต้องรับผิดชอบทั้งด้านการงานและบทบาทในครอบครัว
บางครั้งทำให้เครียด ซึ่งต้องใช้การแก้ปัญหาให้เหมาะสม
จึงจะทำให้ชีวิตสมรสมีความสุข
รายได้และการสนับสนุนจากสังคมมีผลทางอ้อมต่อคุณภาพชีวิตสมรส

ในปัจจุบันนี้คู่สมรสที่ทำงานทั้งคู่มีให้เห็นทั่วไป (
Fouad & Tinsley , 1997 ) .และในสังคมของชาวอเมริกัน ครอบครัวส่วนใหญ่
คู่สมรสก็ทำงานทั้งคู่ ( Hansen ,1997 ) คุณภาพชีวิตสมรสมีผลต่อ
สุขภาพและความสุขของชีวิต (Myers , 1993 )
นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาซึ่งทำงานด้านการให้คำปรึกษาอาชีพ (Nauta ,
Epperson ,& Kahn 1998) หรือผู้ให้คำปรึกษาด้านครอบครัว (Kurdek,1998 )
จะต้องเข้าใจชีวิตของคู่สมรสที่แต่งงานทั้งคู่
จึงจะให้การปรึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้นในปัจจุบัน(
Becker & Moen, 1999 )แต่ก็ยังมีอีกหลายคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ
โมเดลของทฤษฎีเก่าๆมักกล่าวถึงแง่ลบของคู่สมรสที่ทำงานทั้งคู่
เช่นความเครียด ความกดดัน ( Frone , Yardley ,& Markel , 1997 )
การมุ่งประเด็นไปที่แง่ลบนั้นยังไม่เพียงพอด้วยเหตุผล 2 ประการคือ (a)
ไม่สอดคล้องกับปรัชญาของจิตวิทยาการให้คำปรึกษา ( American Psychological
Association , 1999 ) และ (b)
การโฟกัสไปที่ปัจจัยทางลบของสามีภรรยาที่ทำงานทั้งคู่
โดยที่ละเลยข้อดีของชีวิตรูปแบบดังกล่าว
จะมีอิทธิพลทำให้ผู้หญิงถูกจำกัดบทบาทให้เป็นแค่แม่บ้านแทนที่จะทำงานอย่างเต็มเวลา
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้
ได้เสนอและทดสอบโมเดลของคุณภาพชีวิตสมรสในกลุ่มตัวอย่างที่สามีภรรยาทำงานทั้งคู่
โดยดูทั้งปัจจัยทางบวกและลบที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตสมรส
โมเดลดังกล่าวสร้างจากรากฐานของทฤษฎีบทบาททางสังคม ( Fein ,1990 ,1992 )
ทฤษฎีดังกล่าวว่าบุคคลจะตอบสนองความต้องการส่วนตัวและความต้องการด้านความสัมพันธ์
ผ่านการปฏิบัติบทบาทส่วนตัวกับบทบาทของคู่สมรส ( Fein ,1990,1992 )
บทบาทจะมีปัญหาเมื่อพวกเขาไม่สามารถตอบสนองความต้องการของกัน


2.
และกันได้ หรือเมื่อมีความต้องการที่ต้องแข่งขันมากเกินไป
จนก่อให้เกิดความเครียดความกดดัน
ความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและความเสมอภาคของสามีภรรยาจะช่วยลดความเครียดความกดดันดังกล่าวได้
(Fein ,1990,1992 ; Wikie, Feree ,&Ratcliff,1998 ) .
โมเดลที่เสนอในการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นที่คุณภาพของชีวิตสมรส
ที่รับผิดชอบบทบาทหน้าที่ของคน
ทำงานและบทบาทของความเป็นสามีหรือภรรยา
ซึ่งโมเดลดังกล่าวเป็นผลลัพธ์ของปัจจัยทางบวกและทางลบ .ปัจจัยทางบวกมี 3
รูปแบบคือ
1.คู่สมรสมีปัจจัยสนับสนุนการดำรงชีวิต ( Ono,1998 )
ได้แก่ปัจจัยสี่ .การสนับสุนทางสังคมเป็นต้น
2.คู่สมรสมีลักษณะความสัมพันธ์ที่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตสมรส
ได้แก่ ความรัก ความพึงพอใจทางเพศ และมีการสื่อสารที่เข้าใจกัน
(Kurdek,1998)
3.คู่สมรสมีวิธีในการจัดการกับปัญหาหรือเหตุการณ์วิกฤต (
Patterson&McCubbin,1984 )
ซึ่งจะช่วยให้บุคคลต่อสู้กับความกดดันของบทบาททางสังคม
โมเดลดังกล่าวอยู่ในรูปที่
1.ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัจจัยทางตรงและทางอ้อมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตสมรส
โดยศึกษาจากทฤษฎีบทบาททางสังคมและงานวิจัยต่างๆ

ปัจจัยด้านต่างๆ
รายได้รวม

การที่มีรายได้ของสองคนมารวมกัน ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
(Belle,1990) .Voydandoff (1987)
กล่าวว่ารายได้ที่สูงขึ้นมีผลทางอ้อมต่อความพึงพอใจในชีวิต
และเราก็เชื่อว่ามันจะมีผลต่อความ
พึงพอใจในการทำงานของคู่สมรสและคุณภาพชีวิตสมรสด้วย

การสนับสนุนจากสังคม

การสนับสนุนจากสังคมเป็นปัจจัยสำคัญต่อคู่สมรสที่ทำงานทั้งสองคน
( Long,1998 ).การสนับสนุนทางสังคมมีผลทางบวกต่อความเป็นอยู่ที่ดี
ซึ่งมีกล่าวไว้ในวรรณกรรมต่างๆ ( เช่น Wan,Jaccard,
&Ramey,1996 ) . Hoffman (1989)
กล่าวว่าการสนับสนุนจากสังคมจะช่วยให้สามีภรรยาที่ทำงานทั้งคู่สา
มารถแก้ไขความขัดแย้งทั้งในเรื่องงานและครอบครัว

3.

ความรัก

ความรักคือจุดศูนย์กลางของชีวิตสมรส (Wortington และคณะ 1997
) ถ้าปราศจากความรัก จะมี
ผลทำให้เกิดการหย่าร้างสูง ( Kincaid & Caldwell ,1995 )

ความพึงพอใจทางเพศ

ความสัมพันธ์ทางเพศที่พึงพอใจซึ่งกันและกัน
มีผลบวกต่อคุณภาพชีวิตสมรส ( Mathews ,Conger,
&Wickrama,1996 ) .เป็นดัชนีบ่งชี้ว่าชีวิตสมรสมีความสุขหรือต้องหย่าร้าง
(Hatfield&Rapson,1993
).ปัญหาความไม่พึงพอใจทางเพศเป็นเรื่องที่คู่สมรสนำมาปรึกษากับนักจิตวิทยามากที่สุด
( Karpel,1999).

การสื่อสาร

การสื่อสารได้รับการยืนยันทั้งทางทฤษฎี การวิจัยและภาคปฏิบัติว่า
เป็นกุญแจสำคัญสำหรับคุณภาพของชีวิตสมรส ( Fowers, 1998
).การสื่อสารช่วยให้คู่สมรสพึงพอใจกันมากขึ้น (Fein,1990,1992)

ความพอใจในแบบแผนชีวิตของสามีภรรยาที่ทำงานทั้งคู่

ความพึงพอใจในแบบแผนชีวิตมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของชีวิตคู่(
Loscocco,1997).เพราะมันเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างบทบาทด้านครอบครัว-การงาน
และคุณภาพของชีวิตสมรส

ความเครียดในบทบาทด้านครอบครัวและการงาน

บทบาทด้านครอบครัวและการงานบางครั้งมีความขัดแย้ง
ไม่สอดคล้องกัน ทำให้เกิดความเครียด( Kiecolt ,1994 )
การศึกษาวิจัยได้พบว่าความเครียดของบทบาทมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตสมรส (
Eckenrode&Gore ,1990 )
.ความเครียดในบทบาทเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้คู่สมรสมีความขัดแย้งกัน(
Norrell &Norrell.1996).นักวิชาการได้ระบุความแตกต่างระหว่างความต้องการด้านงานและบทบาททางครอบครัว
อีกทั้งการรับรู้ในความเครียดของสองสิ่งนี้ที่ไม่ประสานกัน

4.
การเผชิญปัญหา
Skinner และ McCubbin (1991)
ได้กล่าวถึงกลวิธีในการเผชิญปัญหาของคู่สมรส เพื่อจัดการกับ
ความเครียดของบทบาท เช่นการปรับโครงสร้างบทบาทเสียใหม่
การวางแผนหาเวลาไปพักผ่อน
การปล่อยวางงานที่คั่งค้างออกไป.มีการวิจัยที่ได้สรุปไว้ว่า
อุปนิสัยในการเผชิญปัญหาและคุณภาพของชีวิตสมรสมีความสัมพันธ์กัน (
Houser,Konstam,&Ham,1990)

ความเสมอภาคกัน

สามีภรรยาที่ทำงานทั้งคู่
ส่วนใหญ่บอกว่าความเสมอภาคของคนทั้งสองทำให้ความสัมพันธ์ราบรื่น (
Rosenbluth ,Steil ,& Whitcomb,1998 )
.มีการวิจัยที่สนับสนุนว่าความเสมอภาคของสามีภรรยาจะทำให้ความเครียดในบทบาทลดลงและเพิ่มคุณภาพของชีวิตสมรส
(Wikie และคณะ 1998 )

วิธีการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง

เป็นชาย 52 คน หญิง 55 คน ซึ่งทำงานทั้งสามีและภรรยา
มีอายุในช่วง 20-29 ปี จำนวน 21%
30-39 ปี จำนวน 33% 40-49 ปี จำนวน 30% 50-59 จำนวน 14% และ อายุ
60 ขึ้นไปจำนวน 2 %
ระยะเวลาของการใช้ชีวิตร่วมกันมีตั้งแต่ 1-29 ปี ( เฉลี่ย 12 ปี )
31% ของกลุ่มตัวอย่างไม่มีลูก .21% มีลูก 1 คน .43% มีลูก 2
คน .และ 5 % มีลูก 3 คนขึ้นไป
รายได้รวมของครอบครัว มากกว่า 100,000 เหรียญ มีจำนวน 6 %
รายได้ระหว่าง 81,000 ถึง 100,000 เหรียญ มีจำนวน 34 %
รายได้ระหว่าง 61,000 ถึง 80,000 เหรียญ มีจำนวน 38 %
รายได้ระหว่าง 41,000 ถึง 60,000 เหรียญ มีจำนวน 15 %
รายได้ระหว่าง 26,000 ถึง 40,000 เหรียญ มีจำนวน 5 %
รายได้ระหว่าง 15,000 ถึง 25,000 เหรียญ มีจำนวน 3 %

5.
คุณภาพของชีวิตสมรส .ใช้แบบวัด ENRICH ( Olson และคณะ 1989 )
ซึ่งมี Subscale ที่ใช้วัด
ความพึงพอใจในชีวิตสมรส ค่าที่มากหมายถึงพอใจมาก.ค่า Mean
ของแบบวัดดังกล่าวสำหรับตัวอย่างปกติคือ 51 (SD =6.8).ค่า reliability
เท่ากับ 0.86 และค่า internal consistency เท่ากับ 0.81 ( Oslon และคณะ
1989 )

รายได้รวมกัน
ให้กลุ่มทดลองเลือกขั้นเงินเดือนตามความเป็นจริง โดยคำนวณจากรายได้ทั้งปี
การสนับสนุนทางสังคม ใช้แบบย่อของ Social Support
Questionnaire ( SSQ 6; Sarason, Shearin ,&Pierce ,1987 )
ในการวัดระดับความพึงพอใจของการสนับสนุนที่ได้รับจากสังคม. ค่า Mean
สำหรับตัวอย่างทั่วไปคือ 30.8 (SD =6) .ส่วนค่า Internal consistency
อยู่ระหว่าง .90-.93
Rubin Love Scale ( Rubin ,1970) เป็นมาตรวัดแบบ Likert
,มีค่าตั้งแต่ 1 (ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ) จนถึง 7
(เห็นด้วยอย่างยิ่ง) เป็นการวัดความรักแบบโรแมนติค .ค่า Mean ปกติเท่ากับ
49 ( SD=6.4) ค่า Internal consistency เท่ากับ .84 สำหรับผู้หญิง และ
.86 สำหรับผู้ชาย )
ความพึงพอใจทางเพศ ใช้ แบบวัด ENRICH ในส่วนที่เป็น
Sexual Relationship subscale.
คะแนนมากหมายถึงมีทัศนคติทางบวกต่อเรื่องเพศในชีวิตคู่
และความพึงพอใจต่อการแสดงออกทางเพศต่อกัน.ค่า Mean เท่ากับ 28.1( SD=6.3
) ค่า Reliabilty เท่ากับ 0.92 ( Oslon และคณะ 1989 )
ความพึงพอใจในแบบแผนชีวิตที่สามีภรรยาทำงานทั้งคู่
ใช้แบบวัดที่ดัดแปลงมาจาก The Satisfaction with Life Scale (
SWLS;Diener,Emmons,Larsen,&Griffin,1985) คำตอบแต่ละข้อมีให้เลือก 7
scale คือตั้งแต่ 1.ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง จนถึง
7.เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ค่า Reliability เท่ากับ .87
การสื่อสาร ใช้แบบวัด ENRICH ในส่วนของ Communication subscale.
คะแนนมากหมายถึงบุคคลเข้าใจเรื่องความรู้สึกและสามารถบอกความรู้สึกแก่คู่สมรสได้ง่าย.
ค่า Mean สำหรับตัวอย่างปกติคือ45.8 ( SD =6)
Job-family role strain scale (Bohen& Viveros-Long,1981)
แบบวัดดังกล่าวใช้วัดคุณค่าและอารมณ์ที่มีต่องานและบทบาทในครอบครัว
มีมาตรวัด 5 อันดับของ Likert
ในการตอบคำถาม.ตัวเลขที่มีค่าสูงแปลว่าความเครียดสูง. ค่า Mean
ของตัวอย่างปกติเท่ากับ 43.2 ( SD=8 )
Family management scale (FMS ;Bohen & Viveros-Long,1981)
เป็นแบบวัดระดับความเครียดของบทบาทระหว่างงานกับครอบครัว
โดยดูจากความต้องการที่มีต่องานเปรียบเทียบกับด้านครอบครัว ใช้มาตรวัดแบบ
4 อันดับของ Likert
เช่นดูเรื่องเวลาที่ต้องใช้หรือความยากง่ายในการจัดการกับ
งานบางอย่าง ดูเรื่องการแบ่งเวลาให้กับกิจกรรมต่างๆ
เช่นไปทานอาหารกับคนในครอบครัว .การร่วมกิจกรรมด้านชุมชน เป็นต้น


6
Dual-Employed Coping Scale
(DECS;Skinner&McCubbin.1991).เป็นแบบวัดที่ใช้ดูพฤติกรรม
ในการจัดการกับปัญหาต่างๆ เช่นปัญหาสุขภาพ ปัญหาความขัดแย้ง .ค่า Mean
สำหรับตัวอย่างปกติเท่า
กับ 168.3 ( SD=19.8 )
ความเสมอภาค
เป็นแบบสอบถามที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้วัดความเสมอภาคโดยเฉพาะ .มีมาตรวัด
4 อันดับของ Likert เป็นคำตอบให้เลือก จาก 1.เสมอภาคกันมากที่สุด จนถึง
4. ไม่มีความเสมอภาคกัน
เลย

วิธีดำเนินการ

กลุ่มตัวอย่างได้จากการประกาศรับสมัครผ่านวารสารของ Department of
Work and Family Resources พวกเขาติดต่อเข้ามาทางโทรศัพท์และทางอีเมล์
ทุกคนได้รับแบบสอบถามทางจดหมาย
ซึ่งแบบสอบถามถูกส่งกลับมายังผู้ทำการวิจัยจำนวน 90 %
มีแบบสอบถามสองฉบับที่ตอบไม่สมบูรณ์ ต้องคัดทิ้งไป

ผลที่ได้

ค่า Range .Mean .Standard Deviation. แสดงไว้ในตารางที่ 1
ค่าที่ค่อนข้างสูงได้แก่ คุณภาพชีวิตสมรส .รายได้รวม.
การสนับสนุนจากสังคม..ความรัก.การแก้ปัญหาและความเสมอภาค.โดยส่วนใหญ่คนที่ตอบแบบสอบถามจะเป็นชนชั้นกลาง
และเป็นชาวยุโรป-อเมริกัน ผลการตรวจสอบด้วย One-way analysis of
variance พบว่า เพศและเชื้อชาติไม่มีผลกระทบต่อค่าที่ได้. ค่า
Intercorrelation ของปัจจัยต่างๆได้แสดงไว้ในตารางที่ 2.
ค่าแอลฟ่าเท่ากับ .05 และ p<.0009
ค่าการกระจายปกติของแต่ละปัจจัยได้รับการตรวจสอบโดยใช้ Multivariate
measesures ของ Mardia's ( 1970 ,อ้างถึงใน Hoyle , 1995, sohk 61 ).
และหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ Power analysis .80 ด้วยขนาด degree of
freedom .38 ผลที่ได้คือจำนวนกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 103
ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง 107 คน จึงเพียงพอแล้ว
Figure ที่ 2 แสดงถึงค่า Path analysis
ของปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตสมรส
เพื่อทดสอบว่าโมเดลที่นำเสนอในภาพที่ 1
ตอนแรกเหมาะสมกับค่าทางสถิติที่วิจัยออกมาหรือไม่ โดยการใช้วิธี maximum
likelihood estimation ของ LISREL's (Version 8.14;Joreskog &
Sorbom,1993 ) ซึ่งได้ค่าออกมาดังนี้ : The comparative fit index
เท่ากับ .91 The goodness-of-fit index เท่ากับ .92 The


7.
normed fit index เท่ากับ .86 The incremental fit index เท่ากับ .92
นั่นคือมีค่าที่เกิน .90 มากกว่าครึ่งหนึ่ง เราจึงสรุปได้ว่า Model
ที่นำเสนอสอดคล้องกับค่าที่ได้จากการวิจัย
รายได้รวม และการสนับสนุนทางสังคม
มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในรูปแบบชีวิตของสามีภรรยาที่ทำงานทั้งคู่
แต่ไม่สัมพันธ์โดยตรงกับคุณภาพของชีวิตสมรส
ความรักและความพึงพอใจทางเพศมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตสมรส
แต่ไม่สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความพึงพอใจในรูปแบบชีวิตของสามีภรรยาที่ทำงานทั้งคู่
การสื่อสารมีความสัมพันธ์ทางบวกทั้งกับคุณภาพชีวิตสมรสและกับความพึงพอใจในรูปแบบชีวิตของสามีภรรยาที่ทำงานทั้งคู่
ความพึงพอใจในรูปแบบชีวิตของสามีภรรยาที่ทำงานทั้งคู่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตสมรส
ความตึงเครียดในบทบาทด้านการงานและครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางลบกับความพึงพอใจในรูปแบบชีวิตของสามีภรรยาที่ทำงานทั้งคู่
และมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเสมอภาคกัน
ความตึงเครียดในบทบาทด้านการงานและครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการแก้ไขปัญหา
ความพึงพอใจในรูปแบบชีวิตของสามีภรรยาที่ทำงานทั้งคู่
และพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตสมรส

สรุปอภิปราย
ตัวแปรสามด้านในส่วนของความพึงพอใจในรูปแบบชีวิตของสามีภรรยาที่ทำงานนอกบ้านทั้งคู่
ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตสมรสอย่างมากได้แก่ เศรษฐ์ฐานะ
.ลักษณะความสัมพันธ์.และความต้องการแบบปรนัย
รายได้ที่สูงกับการได้รับความสนับสนุนจากสังคมมีผลโดยตรงต่อความพึงพอใจในรูปแบบชีวิตของสามีภรรยาที่ทำงานทั้งคู่
แต่มีผลทางอ้อมต่อคุณภาพชีวิตสมรส.
การวิจัยครั้งก่อนได้แสดงให้เห็นว่าฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีนำเกียรติภูมิมาให้
และกิจกรรมต่างๆเช่นการท่องเที่ยว การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า
การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตทั้งหมด (
Sara-son และคณะ 1987 )
กลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนสูงในด้านความรัก
ความพึงพอใจทางเพศและการสื่อสาร จะมีคุณภาพชีวิตสมรสที่ดี
ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีบทบาททางสังคม
อย่างไรก็ตามเราจะเห็นว่าความรักและความพึงพอใจทางเพศ
ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในรูปแบบชีวิตที่สามีภรรยาทำงานทั้งคู่
ทฤษฎีบทบาททางสังคมได้กล่าวไว้ว่าหากบุคคลมีบทบาทหลายๆอย่างอยู่ในคนๆเดียว
มีโอกาสเกิดความเครียดได้สูง ถ้าบทบาทต่างๆมีการแข่งขันกันขึ้นมา (
Fein,1990,1992 ) ความเครียดที่เกิดจาก


8.
ความขัดแย้งของบทบาทด้านงานและครอบครัว
จำเป็นต้องอาศัยพฤติกรรมในการแก้ไขปัญหาที่ดี
ซี่งเราจะค้นคว้าได้จากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและการแก้ปัญหา
( Lazarus,1999 )
บนพื้นฐานของบทบาททางสังคม สามีภรรยาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน
และมีกลยุทธในการแก้ไขปัญหา มีการแบ่งงานอย่างเท่าเทียมกัน
จะทำให้พวกเขาพึงพอใจในบทบาททั้งหลายของตน
ความเครียดในบทบาทก็จะน้อยลง

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับนักจิตวิทยาการให้คำปรึกษา

นักจิตวิทยาให้คำปรึกษาต้องประเมินคุณสมบัติต่างๆของสามีภรรยา
ที่ทำงานทั้งคู่ คือต้องเข้าใจทรัพยากรในตัวของคู่สมรส
ลักษณะการมีปฏิสัมพันธ์กัน และกลวิธีในการจัดการกับเหตุการณ์ที่เป็นลบ
ต้องเข้าใจจุดแข็งจุดอ่อนของคู่สมรส
ต้องช่วยให้พวกเขาปรับตัวในด้านความรัก ความสัมพันธ์ทางเพศ
เรียนรู้ในการนำการสนับสนุนจากสังคมมาใช้ให้เป็นประโยชน์
ต้องฝึกให้คนทั้งคู่รู้จักการสื่อสารกันให้เข้าใจ
ตามสถานที่ทำงานหลายแห่ง มีการจัดสัมมนาทางจิตวิทยา
เพื่อช่วยให้พนักงานมีชีวิตครอบครัวและการทำงานที่มีความสุข
ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับสามีภรรยาที่ทำงานทั้งคู่

ข้อจำกัดของงานวิจัยครั้งนี้

มีปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้งานวิจัยชิ้นนี้มีข้อจำกัด
1.กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนที่ไม่มาก
2.คู่สมรสเป็นชายหญิงทุกคู่ ไม่มีพวกรักร่วมเพศเลย
3.กลุ่มตัวอย่างเป็นชนผิวขาวโดยส่วนใหญ่ ( 89% )
4.ถึงแม้ว่าในการศึกษาครั้งนี้
กลุ่มตัวอย่างจะมีช่วงอายุที่หลากหลาย
และระยะเวลาการใช้ชีวิตคู่จะมีตั้งแต่ 1 ถึง 29 ปี
แต่ส่วนใหญ่ก็อยู่ในช่วงระยะต้นๆของการใช้ชีวิตคู่
จึงไม่มีประวัติของการมีบุตรบุญธรรม บุตรติดคู่สมรส
หรือการมีบุคคลที่สามนอกชีวิตสมรส
5.กลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่มีบุตรไม่เกิน 2 คน บางคู่ก็ไม่มีบุตร
จำนวนบุตรมีความสัมพันธ์กับความ
เครียดในบทบาทได้ด้วย


9.
ดังนั้นถึงแม้ว่าแบบจำลองที่นำเสนอในงานวิจัยครั้งนี้จะช่วยให้เราเข้าใจความแตกต่างระหว่างสามีภรรยาที่ทำงานแค่คนเดียวกับที่ทำงานทั้งคู่
แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดดังกล่าว 5 ประการ เราจึงไม่กล้านำผลที่ได้ไป
สรุปใช้ทั่วไป ควรมีการทำวิจัยเพิ่มเติมให้ลึกซึ้งและละเอียดมากกว่านี้
สำหรับชีวิตสมรส อาชีพ และคุณภาพชีวิตของสามีภรรยาที่ทำงานทั้งคู่

-----------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น