7/16/2554

การสร้างความปลอดภัยให้ชีวิต

การสร้างความปลอดภัยให้ชีวิต
โกสินทร์ วรเศรษฐสิงห์
สำนักงาน ก.ค.ศ.

ชีวิตคนเรานั้น ถ้าไม่มีกิจการดำเนินการเป็นของตนเองเป็นข้าราชการต้องมี
การเดินทางไปทำงานหรือปฏิบัติราชการซึ่งห่างไกลจากบ้านหรือที่อยู่อาศัย
การเดินทางต้องอาศัยรถประจำทางบ้างขับรถไปเองบ้าง
หากขาดความระมัดระวังหรือการขับขี่ไม่ชำนาญพอจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ผู้เขียนมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้มาก
เช่น ขับรถจักรยานยนต์
กลับจากสนามกีฬาของโรงเรียนเพื่อกลับไปกินข้าวที่บ้าน เส้นทาง
เป็นถนนลูกรัง ผู้เขียนจะเคารพกฎจราจร
โดยเคร่งครัดคือขับรถชิดซ้ายตลอดเวลาบังเอิญช่วงเวลานั้นฝนตกหนักแซะที่ดินซึ่งเป็นถนนเป็นหลุมขนาดกว้างรถตกหลุมแก้วกระโจนขึ้นอย่างรุนแรงผู้เขียนใช้มือกระซับแฮนด์แน่น
รถล้มลงแต่ได้รับบาดเจ็บไม่มากนัก
อีกครั้งขับรถจักรยานยนต์ไปเยี่ยมญาติซึ่งเป็นครูอยู่ต่างอำเภอ ขากลับ
ยางหลังเกิดระเบิดแต่ผู้เขียน สามารถประคองรถได้
แล้วจูงรถไปเปลี่ยนยางใหม่ เป็นยางรถแข่ง ซึ่งสามารถเกาะถนนได้ดี
การขับขี่ยานพาหนะนั้น ต้องสร้างความปลอดภัยให้ชีวิต
อย่าขับขี่ด้วยความประมาท จำกัดความเร็วให้เหมาะสม
ก่อนเดินทางต้องตรวจสอบความพร้อมของพาหนะที่ขับขี่
ผู้เขียนจะระมัดระวังรอบคอบเกี่ยวกับเรื่องนี้มากอย่างน้อยจะมีการเติมน้ำมันให้เต็มตลอดเวลา
การเดินทางไปถึงแต่ละจุดจะต้องใช้น้ำมันปริมาณเท่าไร
เมื่อปริมาณน้ำมันลดจะต้องหาจุดเติม
ให้เต็มตลอดเวลา การขับขี่ต้องเคารพกฎจรจรโดยเคร่งครัด
จากสถิติอุบัติเหตุทางการจราจรทางบกเฉพาะในกรุงเทพมหานครมีข้อมูล ดังนี้

จำนวนคน/ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
๑. การเดินเท้า ๒,๔๓๘ ราย ๑. ขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ๘,๖๒๓ ราย
๒. รถจักรยาน ๕๑๓ คัน ๒. ตัดหน้าระยะกระชั้นชิด ๗,๑๗๒ ราย
๓. รถสามล้อ ๑๖๒ คัน ๓. แซงรถอย่างผิดกฎหมาย ๔,๙๗๘ ราย
๔. รถจักรยานยนต์ ๒๕,๙๗๕ คัน ๔. ขับรถไม่เปิดไฟ/ไม่ใช้แสงสว่างตามกำหนด ๒๐๕ ราย
๕. รถสามล้อเครื่อง ๑,๑๓๘ คัน ๕. ไม่ให้สัญญาณจอด/ชะลอ/เลี้ยว ๒,๕๙๒ ราย
๖. รถยนต์นั่ง ๓๑,๒๕๓ คัน ๖. ฝ่าฝืนป้ายหยุดทางแยก ๑,๕๙๘ ราย
๗. รถโดยสารเล็ก (ตู้) ๑,๖๔๗ คัน ๗. ฝ่าฝืนสัญญาณไฟ/เครื่องหมายจราจร ๒,๒๐๗ ราย
๘. รถบรรทุกขนาดเล็ก (ปิคอัพ) ๑๑,๕๔๔ คัน ๘.
ไม่ขับรถในช่องทางซ้ายสุด ๑,๘๘๘ ราย
๙. รถโดยสารขนาดใหญ่ ๒,๔๔๘ คัน ๙. รถเสียไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญณาณตามที่
กำหนด ๑๓๘ ราย
๑๐. รถบรรทุก ๖ ล้อ ๑,๒๙๓ คัน ๑๐. บรรทุกเกินอัตรา ๕๘ ราย
๑๑. รถบรรทุก ๑๐ ล้อ หรือมากกว่า ๑,๙๓๗ คัน ๑๑. ขับรถไม่ชำนาญ/ใม่เป็น ๔๒๓ ราย
๑๒. รถอีแต๋น ๔๔ คัน ๑๒. อุปกรณืชำรุด ๓๓๐ ราย
๑๓. รถแท็กซี่ ๕,๗๑๙ คัน ๑๓. เมาสุรา ๕,๗๓๑ ราย
๑๔. อื่น ๆ ๙๙๘ คัน ๑๔. หลับใน ๑๓๐ ราย
๑๕. เสพสารเสพติดออกฤทธิ์ต่อประสาท เช่น ยาม้า ๕๖ ราย
๑๖. สัตว์พาหนะวิ่งตัดหน้า เช่น วัว ควาย ๗๕ ราย

- ๒ -

จำนวนคน/ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
๑๗. ขับรถผิดช่องทาง ๒,๓๑๓ ราย
๑๘. ตามกระชั้นชิด ๕,๓๓๓ ราย
๑๙. ไม่ยอมให้รถที่มีสิทธิไปก่อน ๙๒๒ ราย
๒๐. แข่งรถผิดกฎหมาย ๔๑ ราย
๒๑. อื่น ๆ ๕,๙๗๐ ราย
๒๒. ไม่แจ้ง ๗๖๗ ราย


ความสูญเสียทั้งหมดที่เกิดจากอุบัติเหตุ
๑. จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด
ชาย
หญิง
รวม ๖๖๙
๑๓๗
๘๐๖ คน
คน
คน
๒. จำนวนผู้บาดเจ็บสาหัส ชาย
หญิง
รวม ๑,๕๑๖
๔๗๒
๑,๙๘๘ คน
คน
คน
๓. จำนวนผู้บาดเจ็บเล็กน้อย ชาย
หญิง
รวม ๑๕,๒๕๒
๕,๗๗๕
๒๑,๐๒๗ คน
คน
คน
๔. มูลค่าทรัพย์สินเสียหาย รวม ๔๔๖,๐๒๙,๑๘๑ บาท

การขับขี่ยานพาหนะนั้นต้องมีความระมัดระวังอย่าฝืนกฎจราจร
ยานพาหนะต้องพร้อมในการใช้งานปฏิญาณไหวพริบต้องมีพร้อม
การตัดสินใจต้องรวดเร็วฉับไวให้ทันเหตุการณ์จะสร้างความปลอดภัยให้ชีวิตของเราได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น